ระบบประเมินความเจ็บปวดเฉียบพลันในสุนัขและแมว
ที่มาและความสำคัญ
ความเจ็บปวดในสัตว์มักจะถูกมองข้ามอยู่เป็นประจำ เนื่องจากสัตว์ไม่สามารถแสดงความเจ็บปวดออกมาเป็นคำพูดเพื่อสื่อสารให้กับเจ้าของหรือสัตวแพทย์เข้าใจได้ สัตว์ป่วยจึงมีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการบรรเทาความเจ็บปวด หรืออาจได้รับการรักษาแต่ไม่เพียงพอ ทำให้สัตว์ไม่สบายตัวและอาจได้รับความทรมาน ส่งผลให้สุขภาพและระดับคุณภาพชีวิตแย่ลงได้
สัตวแพทย์รวมทั้งเจ้าของสัตว์จึงควรให้ความสำคัญในการประเมินความเจ็บปวดกับสัตว์ป่วย ด้วยการสังเกตพฤติกรรมที่บ่งชี้ว่าสัตว์กำลังอยู่ภายใต้ภาวะเจ็บปวด ยกตัวอย่างเช่น อาการกระวนกระวาย การสะดุ้งตัวเมื่อได้รับสัมผัส เป็นต้น ซึ่งสำหรับในสุนัขและแมวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย พฤติกรรมความเจ็บปวดอาจศึกษาได้จากระบบการประเมินความเจ็บปวดที่สร้างขึ้นในต่างประเทศ เช่น Glasgow Composite Measure Pain Scale, Melbourne Pain Scale, Colorado State University canine and feline acute pain scalesเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการนำระบบประเมินของต่างประเทศเหล่านั้นมาใช้อาจจะมีอุปสรรคทางด้านภาษาในการสื่อสารระหว่างสัตวแพทย์เองและกับเจ้าของสัตว์ได้ จึงได้มีการสร้างระบบประเมินความเจ็บปวดเฉียบพลันทั้งในสุนัขและแมวเป็นภาษาไทยขึ้นมาโดยดัดแปลงและแปลมาจากColorado State University canine and feline acute pain scales ตามที่ได้รับอนุญาตจาก Dr. Hellyer ผู้สร้างระบบดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือใช้เพื่อการศึกษาและต่อยอดนำไปใช้ในงานรักษาพยาบาล เพื่อประโยชน์ต่อสัตว์ป่วยและวิชาชีพสัตวแพทย์ในประเทศไทยทั้งนี้ได้มีการจัดตั้งโครงการวิจัยตรวจสอบและพัฒนาความแม่นยำของระบบประเมินนี้ด้วยความร่วมมือระหว่างบุคลากรของทั้งสองมหาวิทยาลัยคือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยโคโลราโด
หากท่านใดมีความสนใจระบบประเมินความเจ็บปวดเฉียบพลันทั้งในสุนัขและแมวเป็นภาษาไทยฉบับสมบูรณ์ ท่านสามารถติดต่อขอรับได้ฟรี โดยส่งอีเมล์มาที่ عنوان البريد الإلكتروني هذا محمي من روبوتات السبام. يجب عليك تفعيل الجافاسكربت لرؤيته. โดยขอให้ระบุชื่อและจุดประสงค์ในการนำไปใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบประเมินความเจ็บปวดนี้ต่อไป
ที่มา : อาจารย์ สพ.ญ.ดร.สิริรัตน์ นิยม
หัวหน้าหน่วยวิสัญญี โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มก.