กระต่ายที่เราเลี้ยงไว้นั้นไม่ว่าจะอายุ เพศ พันธุ์ไหนๆ ล้วนมีโอกาสป่วยด้วยภาวะท้องอืดได้ ภาวะท้องอืดในกระต่ายนั้นแตกต่างจากคนเราและมีความรุนแรงจนทำให้กระต่ายถึงแก่ชีวิตได้

 

อาการของกระต่ายที่ป่วยด้วยท้องอืด คือ ปวดท้อง กัดฟัน น้ำลายไหล ช่องท้องขยายขนาดอันเนื่องจากการสะสมของแก๊สในลำไส้ ซึม หลบมุมไม่ถ่ายอุจจาระ จนถึงเกร็งชักและอาจเสียชีวิตได้
โรคของทางเดินอาหารมีความสัมพันธ์กับอาหารที่ให้ และจุลชีพในทางเดินอาหารของกระต่ายด้วยเหตุที่ว่ากระต่ายเป็นสัตว์กินพืช (Herbivore)ทางเดินอาหารปรับตัวให้ย่อยอาหารเฉพาะเยื่อใยพืช โดยมีลำไส้ใหญ่ส่วนท้าย (Caecum) ไว้ทำหน้าที่หมักย่อยเยื่อใยพืชด้วยแบคทีเรียให้ได้พลังงานออกมา หากมีปัจจัยรบกวนจุลชีพหรือรบกวนทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว หรือการที่ลูกกระต่ายเล็กๆหย่านม ก่อนถึงวัยอันควรทำให้ขาดโอกาสในการได้รับอุจจาระพวงองุ่นของแม่ (Caecotroph)เพื่อเพิ่มจุลชีพในลำไส้ ล้วนเป็นเหตุให้เกิดภาวะท้องอืดได้ทั้งสิ้น

Vestibulum id urna

สาเหตุของภาวะท้องอืดในกระต่าย
• การอุดตันของทางเดินอาหาร เช่น ปัญหาก้อนขนอุดตันในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ใหญ่(Hair ball) อันเนื่องจากกระต่ายแต่งตัวและเลียขนเข้าไปมากเกินไปในฤดูการผลัดขน เป็นต้น
• ภาวะทางเดินอาหารหยุดทำงาน ( Gutstasis) อันเนื่องจาก
   - คนเลี้ยงให้อาหารผิดๆทำให้เสียสมดุลในระบบย่อยอาหาร เช่น การให้อาหารจำพวกแป้ง ถั่วข้าวโพดมากเกินไป ไม่ควรให้อาหารที่เยื่อใยน้อยโปรตีนหรือแป้งสูงเกินไป
   - การที่กระต่ายถูกขังอยู่แต่ในกรงเป็นเวลานาน ๆ ร่วมกับปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียด
   - การที่กระต่ายได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานเจ้าของไม่ควรให้ยากินเองในกระต่ายเพราะจะรบกวนการทำงานจุลชีพในทางเดินอาหารได้
   - ภาวะปวดฟันหรือกระดูก หรือในขณะฟื้นตัวหลังจากผ่าตัด
   - ความเครียดในขณะเดินทางหรือกระต่ายอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกะทันหันกัดกันเอง หรือเลี้ยงในพื้นที่แออัดเกินไป
• ปัญหาการเจ็บป่วยอื่นๆ จนรบกวนระบบย่อยอาหารร่วมกับความเครียด เช่น ปัญหาฟันไม่สบกันทำให้ปวดฟันทำให้กระต่ายกินอาหารได้ลดลง เป็นต้น

Vestibulum id urna

อาการของกระต่ายที่มีภาวะท้องอืด
• การสังเกตอาการในระยะแรก คือ สังเกตเห็นขนาดของอุจจาระที่ลดลงและปริมาณลดลงอุจจาระเป็นขนพันกันเป็นสายยาวคล้ายลูกปัด
• กระต่ายจะกินอาหารลดลง น้ำหนักตัวลดลง ซึมและมีภาวะขาดน้ำ
• พบอาการปวดท้อง ได้แก่ นอนขดตัวซุกตัวหลบมุม กัดฟัน และน้ำลายไหล
• เกิดช็อกหรือชักได้เนื่องจากความเจ็บปวดอย่างรุนแรง และถึงแก่ชีวิตควรระวังเมื่อ
   - กระต่ายเกิด
   - ผอมลงและน้ำหนักตัวลดลง
   - ไม่ค่อยเดินและกระโดด หลบมุม
   - ไม่แต่งตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ซึม
   - อุจจาระเหลว เละ หรือเป็นกองคล้ายโคลน
   - ไม่ถ่ายอุจจาระ

การป้องกันไม่ให้กระต่ายเกิดภาวะท้องอืด
• ลดสภาวะเครียดในกระต่ายไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมและในขณะเดินทาง เป็นต้น
• การจัดการอาหารอย่างเหมาะสมให้อาหารที่มีเยื่อใยสูง เช่น หญ้าขน ผักใบเขียวงดอาหาร จำพวกแป้งและน้ำตาล เป็นต้น
• เฝ้าสังเกตการณ์กินได้และลักษณะของอุจจาระในช่วงวัน รวมถึงน้ำหนักตัว โดยกระต่ายที่มีสุขภาพดีจะต้องผลิตอุจจาระเป็นเม็ดได้ 180 เม็ดต่อวัน
• หากกระต่ายเริ่มมีอาการผิดปกติให้รับนำมาพบสัตวแพทย์ เพื่อการรักษาได้ทัน

ที่มา : หน่วยสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์