การเรียน/การสอน
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Veterinary Medicine Program) ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ การเรียนรู้ของนิสิตจากการทำปฏิบัติการ การฝึกงานของนิสิตในโรงพยาบาลสัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ รวมทั้งการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีของนิสิตต่อการทำงาน เป็นหลักสูตรที่สร้างบัณฑิตให้สามารถทำงานได้ทั้งในประเทศไทยและในระดับนานาชาติ หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตเป็นการศึกษาระดับปริญญาตรีใช้เวลาศึกษาตลอดหลักสูตร 6 ปี เพื่อผลิตสัตวแพทย์ที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคม
ภายใต้การดำเนินงานของ 10 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ภาควิชาสรีรวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน ภาควิชาปรสิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา ภาควิชาเภสัชวิทยา ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์ใหญ่และสัตว์ป่า ภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ และภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขศาสตร์ รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งมีความสำคัญในการเสริมสร้างประสบการณ์ในวิชาชีพให้กับนิสิตช่วงระหว่างการศึกษา ได้แก่
|
|
|
|
|
การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรประกอบด้วยการเรียนรายวิชาในหมวดต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 244 หน่วยกิต ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 208 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต รวมทั้งมีการฝึกงานไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง การศึกษาตลอดทั้งหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 วิทยาเขต ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน |
|
|
|
|
|
ในชั้นปีที่ 6 ภาคต้น เป็นการเรียนวิชาคลินิกปฏิบัติ ในสัตว์เล็ก สัตว์เคี้ยวเอื้อง ม้า สุกร สัตว์ปีก สัตว์น้ำ ทางพยาธิวิทยา ทางจุลชีววิทยาวินิจฉัย และทางสัตวแพทยสาธารณสุขศาสตร์ เป็นการเรียนการสอนระบบหมุนเวียนภายในภาคการศึกษา ชั้นปีที่ 6 ภาคปลาย นิสิตเลือกเรียนตามความสนใจหมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพเลือก ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาคลินิกปฏิบัติเฉพาะทาง จำนวน 16 หน่วยกิต |
โดยทั้งสองภาคการศึกษามีการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กำแพงแสน และหนองโพ ในการเรียนการสอน เพื่อให้ใช้โรงพยาบาลสัตว์ได้อย่างเต็มที่และนิสิตได้เรียนกับสัตว์ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดภาคการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนทักษะความชำนาญและประสบการณ์ในการรักษาสัตว์ และการจัดการสุขภาพและการผลิตปศุสัตว์