ข้อมูลหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคลินิกศึกษาทางสัตวแพทย์ มุ่งเน้น ผลิตบัณฑิตที่มีความใฝ่รู้ สามารถบูรณาการความรู้ด้านสุขภาพสัตว์และสัตวแพทยสาธารณสุข และมีศักยภาพในการสร้างผลงานวิจัยระดับสากล และให้ความสำคัญต่อการผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ ในเชิงการวิจัยด้านสัตว์ และสัตวแพทยสาธารณสุข

คลิกดู   รายละเอียดหลักสูตร

คุณสมบัติผู้สมัคร

แผน ก แบบ ก 1

1.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต แพทยศาสตร์บัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่า โดยมี คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือ
2.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และ/หรือ เป็นผู้มีประสบการณ์ในการ ทำวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรือได้รับการรับรอง

แผน ก แบบ ก 2

1.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต แพทยศาสตร์บัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่า หรือ
2.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย ของการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนน เฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.5 และ 2.75 ตามลำดับ

 

รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอน

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคลินิกศึกษาทางสัตวแพทย์ มีหลายหมวดวิชา เช่น หมวดวิชา สัตว์เลี้ยง หมวดวิชาสุกร,หมวดวิชาม้า เป็นต้น รายวิชาที่เปิดสอนมีหลากหลายรายวิชา เช่น วิสัญญีวิทยา ทางคลินิก, โรคสุกรและการวินิจฉัยขั้นสูง, จักษุวิทยาในม้า, เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการชันสูตรโรคสัตว์น้ำ เป็นต้น

 

หัวข้องานวิจัยของหลักสูตร

  • โรคไข้หวัดนก : การศึกษาทางพันธุวิศวกรรม
  • โรคติดต่อในสัตว์เลี้ยง สัตว์เคี้ยวเอื้อง ม้า สัตว์ป่า สุกร สัตว์น้ำ
  • การเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบสืบพันธุ์ในสุกร การทำน้ำเชื้อแช่แข็งในสุกร ในม้า
  • การศึกษาระบบภูมิคุ้มกันในสุกร สัตว์เลี้ยง สัตว์ปีก สัตว์น้ำ

 

ความร่วมมือด้านวิชาการ

1. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
3. Royal Veterinary College, University of London
4. CIRAD, France
5. FAO

ผลลัพธ์การเรียนระดับหลักสูตร (PLO) ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับชั้นปี (YLO)
PLO1  YLO1 สำหรับชั้นปีที่ 1
สามารถประมวลแนวคิด เพื่อออกแบบวางแผนการทดลองสำหรับพัฒนาการทำวิจัยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจรรยาบรรณนักวิจัย รวมถึงการดำเนินการขอใบรับรองการอนุมัติให้ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 1. สามารถออกแบบวางแผนการทดลองสำหรับพัฒนาการทำวิจัย  ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ จรรยาบรรณนักวิจัยและการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทงวิทยาศาสตร์
2. สามารถวิพากษ์และเสนอกรอบแนวคิดงานวิจัยเพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพสัตว์ทางคลินิก
3. สามารถใช้เทคโนโยีสารสนเทศแสวงหาข้อมูล เพื่อประมวลแนวคิด ทฤษฏี และงานวิชาการนำไปสู่การแสดงออกถึงกระบวนการคิดตามแนวทางการดำเนินงานวิจัยด้านสุขภาพสัตว์ทางคลินิก
PLO2 YLO2 สำหรับชั้นปี 2
สามารถวิพากษ์และเสนอกรอบแนวคิดงานวิจัยเพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพสัตว์ นำไปสู่การปรับปรุงหรือพัฒนาต่อยอดสิ่งใหม่อย่างสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องบริบทที่เปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพสัตว์ทางคลินิก  1. สามารถปฏิบัติงาน และดำเนินการวิจัยด้านสุขภาพสัตว์ทางคลินิก
2. สามารถสร้างและเพร่แผยผลงานวิจัย หรือนวัตกรรม ที่มีคุณภาพ ในระดับชาติและนานาชาติ
PLO3
สามารถปฏิบัติงานด้านสุขสัตว์ทางคลินิก ภายใต้ความรู้จากศาสตร์ที่หลากหลาย มีความมุ่งมั้น รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ใฝ่เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง    
PLO4
สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแสวงหาข้อมูล เพื่อประมวลแนวคิด ทฤษฏี และงานวิชาการนำไปสู่การแสดงออกถึงกระบวนการคิดตามแนวทางการดำเนินงานวิจัยด้านสุขภาพสัตว์ทางคลินิก และสื่อสารองค์ความรู้กับบุคคลที่หลากหลายผ่านการนำเสนอผลงานสู่สาธารณะ  
PLO5
สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสัตว์ทางคลินิก   

 

 

ที่อยู่ติดต่อ

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โทรศัพท์ 034-351-901-3 ต่อ 1601 โทรสาร 034-351-405